
- สะพานข้ามบารายสวรรค์ บ้านปรางค์
สะพานข้ามบารายสวรรค์ บ้านปรางค์ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของ ชาวบ้าน บ้านปรางค์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยว ได้มาเยี่ยมชมและพักผ่อน ถูกจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน OTOP โดยตัวสะพานนี้มีระยะทางกว่า 300 เมตร

ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/98032

ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/98032
สะพานไม้ไผ่แห่งนี้ จะมีชื่อว่า ”สะพานข้ามบารายสวรรค์” เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นบึงน้ำหรือบารายมาตั้งแต่สมัยเมื่อหลายร้อยปีที่แล้วเคียงคู่กับปราสาทปรางค์บ้านปรางค์ เพื่อต่อยอดเรื่องราวของปราสาทปรางค์บ้านปรางค์ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
สำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวสะพานไม้ข้ามบารายสวรรค์ แห่งนี้นั้น จะตั้งอยู่บริเวณบึงบ้านปรางค์ริมถนนสาย 2369 พระทองคำ-แก้งสนามนาง จากตัวเมืองนครราชสีมาให้ใช้ถนนหมายเลข 205 ถนนสุรนารายณ์ เลี้ยวขวาตลาดสดประคำ เมื่อมาถึงบึงบ้านปรางค์จะสังเกตุเห็นสะพานข้ามบึงน้ำ ได้อย่างชัดเจนด้านขวามือ โดยในพื้นที่มีบ้านพักโบราณ และรีสอร์ทรอต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วย
2. ปราสาทบ้านปรางค์


เป็นศาสนสถานในคติศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 ตรงกับศิลปะเขมรโบราณสมัยบาปวน ตอนปลาย – นครวัดตอนต้น ก่อสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง แผนผังประกอบด้วยกลุ่มปราสาท 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เรียงตามแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ เว้นทางเดินเข้าสู่โบราณสถานทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ด้านทิศตะวันออกมีซุ้มหน้าต่างเปิดทั้ง 2 ข้าง ส่วนบนชำรุดแต่แสดงถึงการเข้ากรอบประตูด้วยหินทรายทรวดทรงที่เหลือ แสดงลักษณะเหมือนปราสาทหินพิมาย มีกำแพงแก้วล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทางเข้าด้านหน้าไม่มีซุ้มประตูหรือโฆปุระ หินที่ก่อกำแพงแก้วน่าจะเป็นหินที่พังลงมา
ในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 สมัยอยุธยา-ล้านช้าง มีการก่อสร้างอาคารอิฐเพิ่ม 1หลัง ทางด้านทิศตะวันออกชิดติดกับส่วนฐานของกลุ่มปราสาท เป็นวิหารหรือหอพระ แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังและพื้นก่อด้วยอิฐ เสาและโครงสร้างเป็นไม้มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 ลงวันที่ 27 กันยายน 2479 และประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 36 ลงวันที่ 15 กันยายน 2526 โดยมีพื้นที่โบราณสถานท 6 ไร่ 1 งาน 80 ตารางว1ท
ที่มา : https://banprang.go.th/public