
1. พริกชี้ฟ้า
ชื่อพื้นเมือง: พริกชี้ฟ้า พริกเดือยไก่ พริกบางช้าง พริกชี้ฟ้า (ภาคเหนือ) พริกมัน (กรุงเทพฯ) พริกแล้ง (เชียงใหม่) พริกซ่อม พริกขี้หนู พริกนก พริกขี้นก ดีปลีขี้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา) หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน) พริกยักษ์ – พริกหวาน พริกฝรั่ง พริกหลวง พริกแม้ว พริกกะเหรี่ยง พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกสันป่าตอง พริกภูเรือ พริกจีน พริกเจแปน พริกต้ม และพริกแจว เป็นต้น เป็นไม้ล้มลุก สูงที่ 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามหรือออกสลับ รูปใบหอก กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร ดอกสีขาว ออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกห้อยลง เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผลรูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียวแหลม มักโค้งงอ ยาว 6-9 เซนติเมตร ผิวเป็นมันสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีเมล็ดแบนสีนวลจำนวนมาก

มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุยืน 1-3 ปี ในประเทศไทยมีการนำเข้าและเพาะปลูกกันมานานแล้ว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำดีหรือปลูกบนดินรังปลวกก็จะมีอายุอยู่ได้นาน พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย มีสรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุในร่างกาย ลดความดันโลหิต เพราะทำให้เลือดอ่อนตัว และทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดี ช่วยเร่งการย่อยสลาย ขับเหงื่อ และช่วยลดน้ำหนักได้ดี ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะ ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้พริกชี้ฟ้ามีรสชาติที่เผ็ดร้อนน้อยกว่าพริกขี้หนูมาก
เป็นพริกที่ปลูกง่าย มีรสชาติเผ็ดพอประมาณ และเป็นพริกที่คนไทยนิยมนำมาทำอาหารกันเยอะที่สุด ผลพริกมีลักษณะทรงกลมยาว ปลายเรียวแหลม โค้งงอ ผิวเปลือกหนาลื่นเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียวเข้ม ผลสุกมีสีแดง ภายในผลกลวงมีแกนกลาง จะมีเมล็ดกลมแบนเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อนเกาะแกนเยอะมาก นอกจากนี้พริกชี้ฟ้ายังมีชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันในแต่ละท้องถิ่นอีกด้วยทั้งนี้พริกชี้ฟ้ายังแบ่งได้ตามความต้องของตลาดเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เพื่อใช้ประกอบอาหารสด เช่น พันธุ์มันบางช้าง พันธ์หนุ่มมอดินแดง และกลุ่มที่ 2 เพื่อใช้แปรรูปทำซอสพริก เช่น พันธุ์หยกสวรรค์ พันธุ์หยกสยาม พันธุ์แม่ปิง 80 พันธ์เรตฮอต TA100
2. พริกจินดา
จัดอยู่ในกลุ่มพริกขี้หนูผลใหญ่ที่มีความสำคัญในฐานะพืชเศรษฐกิจของไทยเช่นกัน ใช้ทั้งในรูปพริกแห้ง พริกสด และซอสพริก มีแหล่งผลิตที่สําคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง เป็นต้น
พริกจินดา ผลมีขนาดเล็กเรียวยาว ผลชี้ขึ้นเป็นส่วนมาก ผลดิบมีสีเขียว แก่ ผลสุกสีแดงเข้ม ใช้ได้ทั้งผลผลิตสดและแห้ง ผลที่ตากแห้งแล้วจะมีสีสวย กรอบ มีจํานวนเมล็ดมาก น้ำหนักมาก ทนทานต่อโรค เจริญเติบโตดี และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทรงพุ่มกว้างประมาณ 50-60 เซนติเมตร ต้นสูงประมาณ 45-60 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยวหลังการย้ายกล้าประมาณ 90 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 60-90 วัน พันธุ์ที่ปลูกมีทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงานราชการและเอกชน

3. พริกขี้หนูสวน
มีลักษณะผลเป็นผลชนิดเบอร์รี่ แต่ยาวคล้ายผัก ผลจะตั้งชี้ขึ้น รูปร่าง และขนาดของผลเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุ์ ส่วนมากผลมีขนาดเล็กแต่มีรสเผ็ดมาก สภาพอากาศ และอุณหภูมิในแต่ละ แต่ละท้องถิ่นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเผ็ดร้อนของพริกได้ ปัจจุบันนอกจากสายพันธุ์พื้นเมืองแล้ว ยังมีการพัฒนาพันธุ์ลูกผสมต่าง ๆ ออกมาอย่างมากมาย
เป็นพริกพุ่มเล็กๆ ลําต้นแข็งเเป็นเหลี่ยม สูงประมาณ 1 ฟุต กิ่งแตกออกมามาก ใบกว้าง 2 – 3 นิ้ว ยาว 4 – 5 นิ้ว ดอกจะออก 1 – 3 ดอก ตรงจุดรวมของใบที่ 3 ผลมีลักษณะชูตั้งตรง เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 – 0.5 เซนติเมตร เป็นพริกเม็ดเล็กๆ ที่สังเกตได้ง่าย มีรสเผ็ดมาก

พริกขี้หนูสวน
พริกขี้หนูสวน : Chilli Padi,Bird’s Eye Chili,Bird Eye Chili,Thai pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens Linn.
อยู่ในวงศ์ : Solanaceae
พริกขี้หนูสวน (Prik-Kee-Nu-Suan) เป็นพริกขี้หนูชนิดหนึ่ง เป็นพืชผักสมุนไพร ที่เจริญเติบโตได้ง่ายๆ เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นกลมๆ มีสีเขียว ใบมีลักษณะทรงเรียวรี ปลายใบแหลม ใบเรียบมัน มีสีเขียว ดอกมีลักษณะรูปกรวย กลีบดอกมีสีขาว ผลมีลักษณะทรงกลมยาว ปลายเรียวเล็กๆ มีขนาดเล็ก ผิวเปลือกหนาลื่นเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดง ภายในผลกลวงมีแกนกลาง จะมีเมล็ดเล็กๆสีเหลืองอ่อน เกาะแกนกลางอยู่มากมาย มีรสชาติเผ็ดร้อน เป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ใช้ประกอบอาหารเมนูต่างๆ ประเทศไทยนิยมรับประทานกันมาก และมีการปลูกกันมาก
ลำต้น เป็นพืชผักสมุนไพร เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก มีอายุประมาณ 1-3 ปี มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เนื้อไม้แข็ง แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนมีสีเขียว กิ่งแก่มีสีน้ำตาล
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน มีลักษณะทรงเรียวรี ปลายใบแหลม ใบเรียบมัน ขอบใบเรียบ มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียว มีขนปกคลุมทั่วใบ
ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลม แทงลึกลงในดิน มีรากแขนงและรากย่อย รากออกตามรอบๆลำต้น มีสีน้ำตาล
ดอก ออกดอกเดี่ยว ดอกมีลักษณะรูปกรวย กลีบดอกมีสีขาว มีกลีบเลี้ยงสีเขียว ก้านช่อดอกจะยาว ดอกออกตามกิ่ง และตามซอกใบ
ผล เป็นผลเดี่ยว มีลักษณะทรงกลมยาว ปลายเรียวเล็กๆ มีขนาดเล็ก ผิวเปลือกหนาลื่นเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดง ภายในผลกลวงมีแกนกลาง จะมีเมล็ดเล็กๆสีเหลืองอ่อน เกาะแกนกลางอยู่มากมาย มีรสชาติเผ็ดร้อน เป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ใช้ประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู
เมล็ด มีขนาดเล็กๆจำนวนมาก อยู่ภายในผล เมล็ดมีลักษณะกลมแบนเล็กๆ มีสีเหลืองอ่อน
4. พริกกะเหรี่ยง

พริกกะเหรี่ยง เป็นพริกที่ชาวไทยภูเขา เผ่ากะเหรี่ยง ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ของจังหวัดกาญจนบุรี ในเขตพื้นที่ป่าทุ่งใหญ่ นเรศวร นิยมปลูกร่วมกับข้าวไร่ซึ่งเป็นพืชหลัก โดยปลูกในช่วงของฤดูฝนอาศัยความชื้นจาก ธรรมชาติและเมื่อพริกออกผลผลิตในช่วงปลาย ฤดูฝนจําเป็นต้องทําการถนอมอาหารไว้โดยแปร รูปเป็นพริกแห้ง เพราะการที่จะนําผลผลิตออกมา จําหน่ายสู่ตลาดภายนอกนั้นทําได้ยาก เนื่องจาก คมนาคมลําบากมาก ไม่สามารถนํารถยนต์เข้า – ออกได้ในช่วงฤดูฝน ต้องรอถึงช่วงฤดูแล้ง
4.1 มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนทานต่อสภาวะ อากาศและโรคแมลง
4.2 ลําต้นใหญ่ การแตกแขนงดี สามารถให้ผลผลิต ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
4.3 เป็นที่นิยมทําเป็นพริกตากแห้งได้ดี คุณภาพผลสด 3 กิโลกรัม ตากแห้งได้ 1 กิโลกรัม
4.4 สามารถใช้พริกกระเหรี่ยงปลูกเสริมในแปลงปลูกพืช หลักได้เพราะเป็นพืชที่ทรงพุ่มใหญ่ ไม่รบกวนการ เจริญเติบโตของพืชหลักอื่นๆมากนัก
4.5 มีความเผ็ดและหอมซึ่งเป็นลักษณะประจําพันธุ์ของ พริกกะเหรี่ยง

5. พริกหยวก
มีลักษณะเป็นผลชนิดเบอร์รี่ มีรูปร่างยาว ปลายเรียว ผลจะห้อยลง มีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นผลสีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นฉุน เนื้อหนา โคนผลใหญ่ ปลายผลเล็กมน เมล็ดแบนเล็กสีขาว มีขนาดใหญ่กว่าพริกเหลือง และพริกชี้ฟ้ามาก แต่ความเผ็ดจะตรงข้ามกับขนาด แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีความเผ็ดเลย ดังนั้นในบางครั้งพริกหยวกถูกจัดกลุ่มรวมกับพริกที่เผ็ดน้อย เรียกว่า พริกหวาน นั่นเอง

พริกหยวก, พริกหวาน, พริกแอปเปิล, หรือพริกยักษ์ (อังกฤษ: bell pepper, sweet pepper หรือ capsicum) เป็นกลุ่มพันธุ์ของสปีชีส์ Capsicum annuum พริกหยวกให้ผลสีต่าง ๆ กัน รวมถึงแดง เหลือง ส้มและเขียว บางครั้งพริกหยวกถูกจัดกลุ่มรวมกับพริกที่เผ็ดน้อย เรียกว่า “พริกหวาน” พริกเป็นพืชประจำถิ่นในเม็กซิโก อเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ตอนเหนือ ภายหลังเมล็ดพริกถูกนำไปยังสเปนใน ค.ศ. 1493 และได้เผยแพร่ไปยังประเทศยุโรป แอฟริกาและเอเชียอื่นจากที่นั้นเอง
พริกหยวกสีที่พบมากที่สุดคือสีเขียวสีเหลืองสีส้มและสีแดง สามารถพบเห็นได้มากขึ้น, สีน้ำตาล, สีขาว, ลาเวนเดอร์และพริกไทยสีม่วงเข้มขึ้นอยู่กับความหลากหลาย โดยทั่วไปแล้วผลไม้สุกมีสีเขียวหรือน้อยกว่าปกติสีเหลืองอ่อนหรือสีม่วง พริกหยวกแดงเป็นพริกเขียวที่สุกแล้ว
6. พริกยอดสน
เป็นสายพันธุ์พริกที่มีความโดดเด่นในด้านการปลูกง่าย ทนแล้ง เนื้อพริกบาง เมล็ดพริกมาก เมื่อแห้งแล้วพริกมีสีแดงวาว เมื่อนําไปทําพริกป่นจะมีกลิ่นหอม รสชาติเผ็ดปานกลาง นอกจากนี้ ยังสามารถนําไปทําเป็นพริกแห้งได้อีกด้วย แหล่งปลูกที่สําคัญอยู่ในเขตจังหวัดภาคอีสาน

เป็นพันธุ์พริกขี้หนูเล่นใหญ่อีกสายพันธุ์ ที่ถือว่ามีเอกลักษณ์คือ ตัวผมมีผิวบาง ผลเรียวกว่าพี่จินดา เมล็ดพริกมาก เผ็ด และ หอม นิยมนำไปทำพริกแห้ง เพราะเมื่อแห้งแล้วสีจะแดงวาว เมื่อนำไปทำพริกป่นจะให้กลิ่นหอม ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ไว้หลายสายพันธุ์ เพื่อให้สามารถต้านทานต่อโรคในการปลูกได้ดีขึ้น
7. พริกพันธุ์ห้วยสีทน
เป็นพริกที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ และคัดพันธุ์จากพริกจินดา ซึ่งมีลักษณะเป็น ผลชี้ขึ้น ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงจัด ความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เมื่อทำเป็นพริกแห้งจะให้พริกแห้งที่มีสีแดงเข้ม เป็นมัน เหยียดตรง ผิวผลเรียบ ก้านผลค่อนข้างยาว และรสเผ็ดจัด ทั้งนี้ยังมีการคัดพันธุ์ และพัฒนาสายพันธุ์จนได้พันธุ์ใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ต้นตั้งตรง มีทรงพุ่มเป็นรูปตัววี สูงประมาณ 80 เซนติเมตร ทรงพุ่มกว้างประมาณ 70 เซนติเมตร เริ่มเก็บเกี่ยวผลเมื่ออายุ 3 1/2-4 เดือน ผลมีลักษณะเรียวชี้ขึ้น ผลดิบสีเขียวอ่อน พริกสด 1 กิโลกรัม ได้พริกแห้ง 0.43 กิโลกรัม คือมีน้ำหนักพริกแห้งต่อน้ำหนักสดมากกว่าพันธุ์เดิม
กองพืชสวนได้เมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ (พริกจินดา)ในปี พ.ศ.2516 นำมาทดลองปลูกศึกษาคัดแยกลักษณะต่าง ๆได้ 200 สายพันธุ์ ปี พ.ศ.2517 นำทุกสายพันธุ์มาปลูกเป็นแถวตามแบบการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ คัดเลือกไว้ 5 สายพันธุ์ ปี พ.ศ.2518-2519 นำเมล็ดที่ผสมตัวเองของ 5 สายพันธุ์ มาปลูกและคัดเลือกสายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ลักษณะดีกว่าพันธุ์อื่น ๆ ทั้งด้านการเจริญเติบโตขนาดและรูปร่าง
8. พริกเหลือง

เป็นหนึ่งในกลุ่มของพริกใหญ่ ซึ่งคนไทยยังมีความต้องการบริโภคพริกเหลืองอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้พริกเหลืองมีราคาค่อนข้างแพงกว่าพริกทั่วไป เนื่องจากเมื่อนําพริกเหลืองมาประกอบอาหารจะได้สี และรสชาติที่มีความหอมเฉพาะตัว ปัจจุบันพริกเหลืองที่ปลูกเป็นพันธุ์พริกเหลืองบางบัวทอง นอกจากนี้พันธุ์พริกเหลืองได้มีการพัฒนาสายพันธุ์กันมากขึ้นทั้งในส่วนงานราชการ และเอกชน
ฤดูกาลปลูกพริกของเกษตรกรไทยจะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนต้นหนาว เหตุผลเป็นเพราะว่าเกษตรกรจะใช้พื้นที่หลังการทำนาทำให้ผลผลิตพริกในฤดูกาลจะออกมาสู่ตลาดพร้อมกันในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม ทำให้ผลผลิตเกินความต้องการของตลาดและมีผลทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำแต่การผลิตพริกให้ออกนอกฤดูกาลจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายน-เดือนธันวาคม จะพบปัญหาจากหลายประการ อาทิ การใช้พื้นที่นามาปลูกพริกจะประสบปัญหาเรื่องการระบายน้ำไม้ดีพอหลังจากปลูกไปแล้วไม่ทันเก็บเกี่ยวผลผลิตต้นก็จะตายไปเสียก่อน ต้นพริกที่ต้องผ่านฤดูฝนนั้นมีโอกาสที่จะเป็นโรคแอนแทรคโนสได้ง่ายมากหรือแม้แต่โรคพริกอื่นๆด้วยก็ตาม เนื่องจากในฤดูฝนมีความชื้นสูง ทำให้การปลูกพริกเชิงพาณิชย์ในช่วงนี้ มีความเสี่ยงต่อศัตรูพืชมากกว่าการปลูกในฤดูอื่น แต่ถ้าสามารถผลิตพริกนอกฤดูกาลได้เป็นผลสำเร็จ แน่นอนว่าย่อมสร้างรายได้ที่ดีกว่าการผลิตพริกในฤดูกาลอย่างแน่นอน

9. พริกอัคนีพิโรธ
หรือที่ชาวลพบุรีเรียกว่า พริกพิโรธร้อยครก ซึ่งมีจุดเด่นที่รสเผ็ดจัด และกลิ่นหอม นอกจากนี้พริกอัคนีพิโรธนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของวงการพริกเมืองไทยที่มีการต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมยา และเครื่องสําอาง เนื่องจากมีการนําสารเผ็ดของพริกที่ทำให้เกิดรสเผ็ดร้อนหรือแคปไซนั่นเอง


มีผลวิจัยในการปลูกพริก พบว่า พริกที่มีความเผ็ดมากที่สุดในโลก คือ พริกพิโรธ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ชอบอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นเหมาะสม
สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ประสบผลสำเร็จในการศึกษาวิจัยการปลูกพริกพิโรธ ถืงเป็นพริกที่มีความเผ็ดมากที่สุดในโลก
พริกโดยทั่วไปของไทย อย่าง พริกขี้หนู ที่ว่าเผ็ด ความเผ็ดอยู่ที่ 35,000-70,000 สโควิลส์ (สโควิลส์ คือ หน่วยวัดความเผ็ด) ส่วนพริกพุตโจโลเกียของอินเดียที่ว่าเผ็ดที่สุดในโลก มีความเผ็ด 800,000-1,000,000 สโควิลส์ และพริกพิโรธน่าจะเผ็ด 800,000 สโควิลส์ ขึ้นไป
ขั้นตอนการปลูกพริกพิโรธ เตรียมแปลงด้วยการไถพรวนแล้วตากแดดทิ้งไว้ ประมาณ 7-10 วัน ขึ้นแปลงปลูกและปรับปรุงบำรุงดินด้วยการใส่ปุ๋ยหมัก 3,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากัน คลุมแปลงด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันวัชพืชและควบคุมความชื้นในดิน
10. พริกซุปเปอร์ฮอต

พริกเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสชาติของอาหารหลากหลายเมนู ให้ช่วยเจริญอาหารมากขึ้น ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่าพริกที่นอกจากจะรสชาติที่เผ็ดร้อนแล้ว ยังเป็นอีกสมุนไพรอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งพริกจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ อย่าง วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ใยอาหาร เป็นต้น โดยในพริก 100 กรัม จะมีวิตามินซีสูงถึง 144 มิลลิกรัม อีกทั้งพริกยังมีสารที่เรียกว่า แคปไซซิน ซึ่งเป็นสารที่มีรสเผ็ด สามารถเพิ่มการใช้พลังงานและย่อยไขมัน ลดการสะสมไขมันในร่างกายของคนเราได้
เป็นพริกขี้หนูพันธุ์ลูกผสมที่มีจุดเด่นตรงที่ผลผลิตต่อไร่สูง เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น คุณภาพของผลผลิตที่สม่ำเสมอ ตรงกับความต้องการของตลาด โดยมีลักษณะเด่นคือติดผลดก ทนทานโรค ผลดิบสีเขียว-เขียวเข้ม ผลสุกสีแดง-แดงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการต่อยอด การพัฒนาสายพันธุ์พริกโดยได้พัฒนาพันธุ์พริกขี้หนูลูกผสม ซูเปอร์ฮอต 2 ที่มีคุณสมบัติคือความยาวผลที่เพิ่มขึ้น และยาวสม่ำเสมอตลอดอายุการเก็บเกี่ยว เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง สีแดงสด มีรสเผ็ดกว่า มีเนื้อผลหนา และแน่น จึงทำให้ผลพริกไม่เน่าง่าย ผลผลิตไม่เสียหายแม้ต้องขนส่งเป็นระยะทางไกล ๆ และสามารถนําไปแปรรูปได้หลากหลาย เช่น พริกป่น พริกแกง น้ำพริก ซอสพริก น้ำจิ้มไก่ เป็นต้น

ที่มา : 1.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81
2.https://www.miwfood.com/10-types-of-chili-peppers-available-in-the-market/